Monday, October 1, 2012

ต้นมะยมหน้าบ้าน
แม่ผมเป้นคนถ่ายเองครับ

่ท่านเข้าไปในห้องชั้นสอง
สูงพอดีกับต้นมะยมหน้าบ้าน
ก็หยิบกล้องมาถ่าย ดกมากๆ



หยิบกล้องมาก็ถ่ายเลยครับ แม่ผมบอก


รออีกสักวันสองวันก็เก็บมาให้เด็กๆที่หอพักทานกัน


ถ่ายจากระเบียงห้องผมหน้าบ้านครับ




++++++++++++++++++++++++++++++++
มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeels

ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ Star Gooseberry

ชื่อท้องถิ่น

* ทั่วไป เรียก มะยม
* ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
* ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะ ทั่วไป มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

การปลูก มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

* ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
* เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
* ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
* ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
* ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติ ความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม
มะยม....เป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม  นั่นคือ...คติความเชื่อ..ที่ต่างคนต่างมุมมอง

:)พอดีที่บ้าน..มะยมกำลังดก...ก็เลยเก็บความรู้เรื่อง  มะยม  มาฝากค่ะ :)

ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.

วงศ์EUPHORBIACEAE


มะยม เป็นพันธุ์ไม้ที่คนไทยมักปลูกไว้ตามบ้าน ริมน้ำ และตามสวนทั่วไปในทุกภาค มะยมตามตำราหรพมชาติ ถือเป็นไม้มงคล จึงนิยมปลูกในทิศตะวันตกคนโบราณมีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมไว้ในบ้าน เพื่อให้ผู้คนนิยมชมชื่น เพราะมีนะเมตตามหานิยม
มะยมเป็นไม้ผลดก ผลมะยมมีรสเปรี้ยงอมหวาน สามารถรับประทานสด และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือขนมได้ มะยมเป็นไม้สูง ขนาดกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในร่ม ปลูกในดินร่วนซุย ความชื้นเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา
แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากมะยมตัวผู้ (มะยมตัวผู้สังเกตได้จากต้นที่ออกดอกเต็มต้น และร่วงหล่นโดยไม่ติดลูก) ในการปรุงยา ซึ่งจะมีคุณภาพที่ดีกว่าตัวเมีย
ราก สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ดับพิษเสมหะ ประดงโลหิต
เปลือกต้น  รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ
       รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาทต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส
ดอก
     ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา
ผล
        รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง

ประโยชน์ทางอาหาร
คนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน รู้จักการนำมะยมมาเป็นผักโดยใช้ยอดใบอ่อนเป็นผักจิ้ม กับน้ำพริก ส้มตำ หรือนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ ยอดอ่อนนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่ว บางภาคก็นำมารับประทาน ร่วมกับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ ก็ย่อมได้ นอกจากนี้ ผลแก่ยังนำมารับประทานสด จิ้มน้ำปลาหวาน พริกเกลือ หรือปรุงเป็นแยม มะยมกวน มะยมดอง เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสฝาด มัน หวาน เปรี้ยว กลิ่นหอม มีประโยชน์สรรพคุณดับพิษไข้ แก้ไข้ เป็นต้น


 ขอบคุณและอ่านเพิ่มเติม
มะยมเชื่อม

ผลไม้แปรรูป อีกอย่างของพวกเรา กินตั้งแต่เสียบไม้ละ บาท ยาวเชียว เดียวนี้เหลือไม้ละ 3-4 ลูก 4 ไม้หนึ่งบาท

เวลามะยมออกมาทีเยอะจนกินกันไม่ทัน เราก็หาวิธีเก็บไว้กินนาน ๆ แบบนี้น่านับถือภูมิปัญญาไทยนะคะ

พอดีพี่ที่ทำงานเค้าเอามะยมมาให้เยอะมาก ไม่รู้จะทำอะไรให้กินหมดไม่เน่าเสียก่อน คิดไปคิดมา ลองเอามาเชื่อมดีกว่า

เราทำในที่ทำงาน ด้วยหม้อหุงข้าวใบเก่ง จึงไม่มีขั้นตอนตามสูตร ครบนะคะ
เอา กันแบบง่าย ๆ แต่ทำออกมาแล้วก็อร่อยดีคะ มะยมจะอมเปรี้ยวหวาน แบบที่เราชอบ ซะด้วย ติดใจวิธีนี้ ลองทำไป 3 รอบแล้ว ทีนีมีมะยมมาเมื่อไหร่ ไม่กลัวเสียแล้วคะ

ตามสูตรเค้าต้องเอามะยมไปคลึงแล้วแช่น้ำปูนให้ก่อน แต่เราไม่...คะ
เชื่อม ทั้งสด ๆ งั้นเลย ไม่ได้แช่น้ำปูนด้วย เคล็ดลับอยู่ที่เวลาเชื่อม ห้าม เอาทัพพีไปคนนะคะ เพราะเนื้อมะยมจะเละ เราคนครั้งเดียวตอนใกล้จะเสร็จเพื่อดูปริมาณน้ำเชื่อม ว่าเหลือพอหรือยัง

>



ส่วนผสม

มะยมผลโต 1/2 กิโลกรัม
น้ำตาลทรายขาว 500กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนชา
นํ้าปูนใส 5 ถ้วยตวง
น้ำสะอาด 1 ลิตร


วิธีทำ

1. ล้างมะยมให้สะอาด คลึงมะยมในกระด้งให้ผิวช้ำทั่วทุกผล แล้วแช่ในนํ้าปูนใส เติมเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ประมาณ 30นาที

2. แล้วล้างน้ำให้สะอาด นำใส่หม้อ (หม้อหุงข้าว) ใส่น้ำตาลทราย ลงไปเลย ใส่เกลือนิดหน่อย กดไฟ ปิดฝา รอให้เดือด

3. เปิดฝาหม้อ ช้อนฟองออก คนเบาๆให้น้ำเชื่อมเดือดเสมอ แง้มฝาหม้อไว้เชื่อมไปเรื่อย ๆ จนมะยมเป็นเงาสีแดง ไม่ต้องคน เดี๋ยวมะยมจะเละ

4. ได้มะยมเชื่อมขนาดตามต้องการ หรือจนน้ำเกือบแห้ง แต่ไม่ถึงกับแห้ง

5. รอให้เย็น บรรจุใส่กล่องพลาสติก หรือขวดโหลสะอาดปิดฝาให้สนิท
เก็บไว้รับประทานได้นาน เอาเข้าตู้เย็นก็ได้คะ












ขั้น ตอนระหว่างเชื่อมไม่ได้ถ่ายไว้เพราะ พอลงหม้อแล้วตอนเดือดไม่ได้ไปดูคะ ให้เพื่อนช่วยดูแทน เพราะติดงานอยู่ มาดูอีกทีก็เกือบเสร็จแล้ว คะ



ใบมะยม ต้านเบาหวาน

 

ต้มดื่มลดน้ำตาล บำรุงตับ 
        
 
          สำหรับ ผู้ที่เป็นเบาหวานน้ำตาลในเลือดสูง วันนี้มีสูตรใบมะยมต้มใบเตยลดน้ำตาลในเลือดมาฝากกันซึ่งมีสรรพคุณทั้งต้าน เบาหวานและบำรุงตับอ่อน

          วิธี ทำ ใช้ใบมะยมสด และรากเตยสดหรือแห้งก็ได้ ต้มรวมกัน แล้วใช้น้ำมาดื่มกิน ถ้าไม่มีรากเตย ก็ใช้ใบมะยมอย่างเดียว (ใส่มะตูมแห้งแบบเป็นแผ่นเพิ่มได้) เมื่อกินใบมะยมระยะแรก จะกระตุ้นตับอ่อนให้ผลิตน้ำตาลมากกว่าเดิมแต่ไม่เพลียไม่เหนื่อย ต่อไปเมื่อตับอ่อนแข็งแรงแล้ว ตับอ่อนจะทำงานของมันเองได้เต็มที่ โดยไม่ต้องพึ่งพาอินซูลินจากภายนอก แล้วตับอ่อนจะคุมน้ำตาลด้วยตัวของมันเองและใบมะยมจะกระตุ้นน้ำตาลให้ขึ้นไป เลี้ยงสมอง ถ้าต้มใบมะยม กินน้ำควรกินให้หมดภายในวันนั้น ก็จะได้โอสถสาร ต้มใบมะยมรวมกับรากใบเตยจะได้รากเตยมาช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้แข็งแรง

         คน ที่เป็นเบาหวานแต่อยากกินของหวาน ก็กินใบมะยมสด ๆ สัก 2-3 ก้าน (ก้านไม่ต้องกิน) ลงไปรองท้องก่อน เคี้ยวไม่ไหวก็ปั่นกินได้แล้วจึงกินของหวาน กากใยของใบมะยมจะช่วยดูดซับน้ำตาล ไม่ให้ดูดซึมเข้ากระแสเลือด และเมื่อกินของหวานแล้วก็กินน้ำสำรองตาม เพื่ออมกากใยไว้รอการขับถ่าย (ใบมะยมใช้กินสด ๆ จิ้มน้ำพริกได้, แกงเรียงใส่ใบมะยมได้)

 

มะยม สมุนไพร ยารักษาโรคผิวหนัง

 

มะยม
มะยม
ถ้าพูดถึง มะยม คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก เพราะตอนเด็กๆหลายๆคนอาจจะเคยปีนต้นมะยมกันอยู่บ้าง มะยม  นอกจากมีรสชาติที่เปรี้ยวจนเข็ดฟันแล้ว มะยม ยังเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีกด้วย วันนี้จะพาไปรู้จักสรรพคุณของมะยมกันค่ะ

ต้นมะยม
ต้นมะยม
ส่วนที่ใช้ : ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ : มะยม
ใบตัวผู้มะยม - แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง
ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้
ผลตัวเมียมะยม - ใช้เป็นอาหารรับประทาน
รากตัวผู้มะยม - แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง
วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี
ผลมะยม มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C
รากมะยม มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

 

ต้นมะยม [Star Gooseberry]

ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ
Star Gooseberry
ชื่อท้องถิ่น
•ทั่วไป เรียก มะยม
•ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
•ภาคใต้ เรียก ยม
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ  :  ยอด รสฝาด รสมัน กลิ่นหอม สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้
ลักษณะทั่วไปของมะยม : มะยมคือพืชพันธุ์ดั้งเดิมถิ่นแหลมทองลำต้นสูงประมาณ ๔ ถึง ๗ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นปุ่มปมอันเกิดจากแผลเป็นของก้านใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว ใบเรียงสลับกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นประเภทขนนก คือมีใบย่อยเรียงอยู่ ๒ ด้านของก้านใบรวมขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่เบี้ยว ปลายใบแหลม ก้นใบค่อนข้างกลม ด้านบนใบสีเขียวอ่อน ด้านล่างสีขาวนวลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านที่ไม่มีใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้มีมากกว่าดอกตัวเมีย บางครั้งมีเฉพาะดอกตัวผู้ทั้งต้น จึงไม่ติดผลเลย เรียกกันว่า มะยมตัวผู้
 
 
   
 
 

 
 


กลีบดอกขนาดเล็กสีชมพู เมื่อติดผลมักอยู่รวมเป็นพวง ผลค่อนข้างกลม ก้นแบน จุกด้านบนบริเวณก้านผลบุ๋มลงไป ด้านข้างผลมีลักษณะเป็นพูมนๆ ๖ ถึง ๘ พู ผิวของผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนบาง มีน้ำในผลมากเช่นเดียวกับตะลิงปลิงและมะเฟือง ผลสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่มและไม่ฉ่ำน้ำมากเหมือนตอนดิบ เมล็ดในผลมีลักษณะเป็นพูๆ เช่นเดียวกับผล มีสีน้ำตาล ผลละหนึ่งเมล็ด หากสังเกตชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม จะพบว่าชื่อชนิดคือ acidus หมายถึง กรด คงมาจากลักษณะผลฉ่ำน้ำของมะยมนั่นเอง เพราะมะยมดิบมีน้ำมาก น้ำมะยมนั้นมีกรดอยู่มากจึงมีรสเปรี้ยวจัด เป็นลักษณะเด่นของมะยม ปกติมะยมจะมีรสเปรี้ยว แต่มะยมบางต้นผลจะมีรสจืด เพราะมีกรดน้อย เรียกกันว่ามะยมหวาน ความจริงไม่มีรสหวานเลย น่าจะเรียกว่ามะยมจืดมากกว่า เชื่อว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะยมอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่คนไทยเคยเรียกว่าถิ่นแหลมทองนี้เอง จึงนับว่ามะยมเป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่เดิม คนไทยจึงมีความผูกพันกับมะยมมาเนิ่นนานและลึกซึ้งในหลายๆด้าน

มะยม

มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์

Phyllanthus acidus Skeels

ชื่อวงศ์

EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ

Star Gooseberry

ชื่อท้องถิ่น

  • ทั่วไป เรียก มะยม
  • ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
  • ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะทั่วไป

มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณ ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบ สลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่อ อ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

การปลูก

มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

  • ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
  • เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
  • ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
  • ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
  • ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติความเชื่อ

ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกัน ความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้ คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม
มะยม
มะยม นั้นเป็นไม้ผลที่มีนิสัยทนแล้งได้ดีค่ะ แม้ว่าปัจจุบันนี้จะไม่มีมะยมพันธุ์ต่าง ๆ ให้เรียกชื่อกันอย่างเป็นกิจจะลักษณะ เนื่องจากมะยมไม่ใช่ไม้ผลที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ไม่มีการคัดเลือกต้นพันธุ์กันอย่างจริงจัง มีเพียงการเรียกมะยมตามลักษณะของรสชาดและขนาดของผลเท่านั้น เช่น มะยมหวาน มะยมเปรี้ยว มะยมผลใหญ่ มะยมผลเล็ก ดังนั้น หากเราต้องการปลูกมะยม ก็ควรเก็บเมล็ดจากต้นพันธุ์ที่เราเห็นว่าผลดก มีผลขนาดใหญ่ และรสชาดดี มาปลูกเพื่อเป็นการตัดเลือกพันธุ์ไปในตัวน่ะนะคะ





การ ปลูกมะยม นั้นก็เหมือนกับการปลูกไม้ผล เขตร้อนทั่ว ๆ ไปค่ะ ควรเว้นระยะการปลูกระหว่างต้น ราว 4-8 เมตร ตัดแต่งทรงพุ่มเมื่อต้นมะยมโตตามขนาดที่ต้องการ

มะยมมักไม่ค่อยเป็นโรค มีแต่แมลงเช่น หนอนผีเสื้อกัดกินใบ และหนอนเจาะกิ่งและลำต้นเท่านั้น และจะออกดอกในกิ่งที่เป็นกิ่งแก่ค่ะ โดยช่อดอกหรือกระจุกดอกนั้นอาจมีใบปนอยู่ด้วยก็ได้ ผลมีลักษณะกลมป้อม มีน้ำมาก บางต้นออกผลดกจนแทบไม่เห็นกิ่ง บางต้นก็ออกประปราย แต่ส่วนใหญ่แล้วออกดอกผลดก ใบมะยมอ่อน ๆ สามารถนำมาเป็นผักแนมกับส้มตำได้อร่อยนะคะ รสชาดของผลโดยทั่วไปก็จะเปรี้ยว แต่ถ้าผลยังอ่อนอยู่ก็จะมีรสชาดค่อนข้างฝาดค่ะ :)
 ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Phyllanthus acidus  (L.) Skeels

ชื่อสามัญ :   Star Gooseberry

วงศ์ :   Euphorbiaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ :  ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้
สรรพคุณ :

    ใบตัวผู้  -   แก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และใช้เป็นอาหารได้

    ผลตัวเมีย  - ใช้เป็นอาหารรับประทาน

    รากตัวผู้  -  แก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือรากตัวผู้ ต้มน้ำดื่ม
สารเคมี

    ผล  มี tannin, dextrose, levulose, sucrose, vitamin C

    ราก  มี beta-amyrin, phyllanthol, tannin saponin, gallic acid

มะยม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

มะยม

ผล
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Plantae
ดิวิชั่น:พืชดอก Magnoliophyta
ชั้น:พืชใบเลี้ยงคู่ Magnoliopsida
อันดับ:Malpighiales
วงศ์:Phyllanthaceae
เผ่า:Phyllantheae
เผ่าย่อย:Flueggeinae
สกุล:Phyllanthus
สปีชีส์:P. acidus
ชื่อทวินาม
Phyllanthus acidus
(L.) Skeels.
ชื่อพ้อง
Phyllanthus distichus Müll.Arg.
Cicca acida Merr.
Cicca disticha L.
Averrhoa acida L.
มะยม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Phyllanthus acidus) ภาคอีสานเรียกว่า หมากยม ภาคใต้เรียกว่า ยม เป็นไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งที่ปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ใบประกอบ มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ติดผลเป็นพวง ผลมีสามพูชัดเจน เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด มีทั้งพันธุ์เปรี้ยวและพันธุ์หวาน ซึ่งมีรสหวานอมฝาด[1] ผลจะอ่อนนุ่มเมื่อสุก จึงเก็บเกี่ยวก่อนผลจะหล่นจากต้น [2]

การใช้ประโยชน์

มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร[3]
ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ใบเป็นส่วนประกอบของยาเขียว[1] ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส ในผลมีแทนนิน เดกซ์โทรส เลวูโลส ซูโครส วิตามินซี ในรากมี beta-amyrin, phyllanthol, แทนนิน ซาโปนิน กรดแกลลิก สารสกัดจากมะยมที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีทในการยับยั้งการเจริญของ E. coli O157:H7 และ Propionibacterium acnes[4]

รวมภาพ

อ้างอิง

  1. ^ 1.0 1.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะยม ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 179
  2. ^ Morton, Julia. "A Fast Growing Vine", The Miami News, 16 June 1963. สืบค้นวันที่ 30 October 2011
  3. ^ National Geographic (18 November 2008). Edible: an Illustrated Guide to the World's Food Plants. National Geographic Books. p. 110. ISBN 978-1-4262-0372-5. http://books.google.com/books?id=HORIzBx17DYC&pg=PA110. เรียกข้อมูลเมื่อ 30 October 2011.
  4. ^ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน