Monday, October 1, 2012

ต้นมะยม [Star Gooseberry]

ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ
Star Gooseberry
ชื่อท้องถิ่น
•ทั่วไป เรียก มะยม
•ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
•ภาคใต้ เรียก ยม
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ  :  ยอด รสฝาด รสมัน กลิ่นหอม สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้
ลักษณะทั่วไปของมะยม : มะยมคือพืชพันธุ์ดั้งเดิมถิ่นแหลมทองลำต้นสูงประมาณ ๔ ถึง ๗ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นปุ่มปมอันเกิดจากแผลเป็นของก้านใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว ใบเรียงสลับกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นประเภทขนนก คือมีใบย่อยเรียงอยู่ ๒ ด้านของก้านใบรวมขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่เบี้ยว ปลายใบแหลม ก้นใบค่อนข้างกลม ด้านบนใบสีเขียวอ่อน ด้านล่างสีขาวนวลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านที่ไม่มีใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้มีมากกว่าดอกตัวเมีย บางครั้งมีเฉพาะดอกตัวผู้ทั้งต้น จึงไม่ติดผลเลย เรียกกันว่า มะยมตัวผู้
 
 
   
 
 

 
 


กลีบดอกขนาดเล็กสีชมพู เมื่อติดผลมักอยู่รวมเป็นพวง ผลค่อนข้างกลม ก้นแบน จุกด้านบนบริเวณก้านผลบุ๋มลงไป ด้านข้างผลมีลักษณะเป็นพูมนๆ ๖ ถึง ๘ พู ผิวของผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนบาง มีน้ำในผลมากเช่นเดียวกับตะลิงปลิงและมะเฟือง ผลสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่มและไม่ฉ่ำน้ำมากเหมือนตอนดิบ เมล็ดในผลมีลักษณะเป็นพูๆ เช่นเดียวกับผล มีสีน้ำตาล ผลละหนึ่งเมล็ด หากสังเกตชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม จะพบว่าชื่อชนิดคือ acidus หมายถึง กรด คงมาจากลักษณะผลฉ่ำน้ำของมะยมนั่นเอง เพราะมะยมดิบมีน้ำมาก น้ำมะยมนั้นมีกรดอยู่มากจึงมีรสเปรี้ยวจัด เป็นลักษณะเด่นของมะยม ปกติมะยมจะมีรสเปรี้ยว แต่มะยมบางต้นผลจะมีรสจืด เพราะมีกรดน้อย เรียกกันว่ามะยมหวาน ความจริงไม่มีรสหวานเลย น่าจะเรียกว่ามะยมจืดมากกว่า เชื่อว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะยมอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่คนไทยเคยเรียกว่าถิ่นแหลมทองนี้เอง จึงนับว่ามะยมเป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่เดิม คนไทยจึงมีความผูกพันกับมะยมมาเนิ่นนานและลึกซึ้งในหลายๆด้าน

0 comments:

Post a Comment