Tuesday, November 20, 2012


มะยม สักเม็ด คลายเครียด แก้ง่วง ชัวร์












เอามะยมเงิน มะยมทองที่บ้านมาโชว์กับเขาบ้างครับมีอะไรแนะนำเชิญนะครับ




อีกรูป


อีกรูป




ต่อ




ต่อ




ต่อ

ต่อ





ต่อ


ต่อ
จั่วหัวเป็นแม่ค้า ตะโกนขายของที่ท่าพระจันทร์ ก็ช่วงนี้ เหลือบตาไปมองต้นมะยมหน้าบ้าน ออกลูก
เต็มต้น จนกิ่งโน้ม มองไปมองมาหลาย ๆ วันก็เสียดาย หลังจากใส่บาตรพระตอนเช้าแล้ว ก็ได้แต่
เหล่ ๆ ตามองมะยม สองสามปีก่อน ออกมาไม่มาก เลยเก็บมาเขวี้ยงเล่น กินก็กินไม่ไหว เปรี้ยว
เหลือหลาย แม่ยายก้อ มีมาเก็บไปตำกินบ้าน แต่รอบนี้ เยอะจัดจริงๆ ครับ เลยไปค้น ๆ ในเวบว่า
มีทางเอาไปทำอะไรได้บ้าง ก็ได้ผลครับ  หวยมาออกที่มะยมดอง กะมะยมเชื่อม อย่ากระนั้นเลย
ลองทำดูซักตั้ง เผื่อได้ ของมาวางขายในร้านทองเพิ่ม นอกเหนือจากลุ้นราคา futures กะ chat
ให้หมดไปวัน ๆ

เริ่มจากเก็บมะยมมาล้างฝุ่นให้สะอาดครับ เม็ดเล็ก ๆ ก็เก็บทิ้งไป เม็ดที่โดนแมลงเจาะหรือหนอนไช
ก็ทิ้ง  ๆ ๆ ๆ เหลือแต่เม็ดอวบ ๆ สวย ๆ ล้างน้ำให้สะอาด เอามาเกลี่ย ๆ บนถาด หยิบเอาไม้ตีพริก
ก็สากน่ะครับ สากไ้ม้นะ คลึง ๆ เม็ดมะยมพอให้ผิวแตก ๆ มีน้ำซึม ๆ ออกมาบ้างเปนใช้ได้ ก็เอามา
ใส่ชามเทน้ำปูนใสลงไปแช่ไว้ แต่เช้าเลย ระหว่างวัน ไม่ต้องทำอะไร ไปขายของ ตามปรกติ



พอเย็นปิดร้านเรียบร้อย ก็เอาชามสะเตนเลส มาตั้งเตาหัวเล็กสุด ใส่น้ำลงไปนิดหน่อย ตามด้วยโซเดียม
คลอไรด์ สงสัยละสิ ก็ไอ้ที่คุณแม่บ้านเอาไปโรยไข่ให้คุณพ่อบ้านตอนเช้า ๆ น่ะครับ (อย่าตอบว่าแป้ง
แบบรายการแม่บ้านสมองไวล่) ลงไปนิดหน่อยประมาณ ครึ่งช้อนกินข้าว ตามด้วยน้ำตาลทราย ขาว ขอย้ำ
ขาวนะครับ เพื่อจะได้สีที่สวยงามไม่คล้ำ ลงไปสักแปดขีด แล้วคน ๆ ๆ ให้ละลายบนเตา



ระหว่างที่คนบ้าง รอให้น้ำเชื่อมเดือด ก้อ ล้างมะยมอีกรอบ เทน้ำปูนใสที่แช่ไว้ทิ้ง ล้างให้สะอาดสักสองรอบ
พักไว้ในชาม รอน้ำเชื่อมร้อนจนเดือด น้ำตาล และเกลือละลายดีแล้ว ก้อบรรจง โกยมะยมลงชามน้ำเชื่อมที่
กำลังได้ที่ครับ



หลังจากนั้นก้อรอจนเดือดอีกรอบ ก้อหรี่ไฟ ปล่อยให้เคี่ยวไปเรื่อย ๆ คอยกดเม็ดที่ลอยลงไปในน้ำเชื่อม หรือคน
ตักข้างล่างเปลี่ยนขึ้นมาข้างบนบ้าง แต่อย่าบ่อยล่ะ เดวเละหมด ใจเย็น ๆครับ  นี่น้ำเชื่อมเดือดละ





ปล่อยให้เวลาผ่านไปช้า ๆ จาก นาที ก็กลายเป็น สามสิบนาที ก็เริ่มปรากฎ ผล



มะยมจะเริ่มใส สีจะเริ่มเข้ม อย่าสนใจ เคี่ยวต่อไปเรื่อย ๆ สี่ห้านาทีก้อ คนพลิกเอาข้างล่างขึ้นมาที
เบา ๆ นะครับ เดวเละกลายเปนมะยมกวนไปซะเปล่า ๆ จนได้แบบนี้



ยังครับ ไม่หนำใจ เอาอีก เคี่ยวต่อไปอีก



จนได้ที่เห็นว่า เม็ดใสฉ่ำทั่วเม็ด เริ่มออกแดงระเรื่อแล้ว ก็ จัดการ ราไฟ ตักเอาเม็ดออกมาพักไว้ที่หม้อ
แยกน้ำแยกเนื้อ





น้ำเชื่อมที่เหลือ อย่าทิ้งนะครับ ของอร่อยเลย จัดการ ทุบน้ำแข็งใส่แก้ว ตักน้ำเชื่อมใส่สักสองช้อนกินข้าว
เติมด้วยน้ำเย็นให้เต็มแก้ว คนให้เข้ากัน จะได้น้ำมะยม หวานเปรี้ยวเค็มปะเล่ม ๆ อร่อยมาก ๆ ขอบอก จิบ
เล่น ๆ เย็นชื่นใจ ส่วนเม็ดมะยมที่เชื่อมและทิ้งให้เย็นแล้ว ก็เปนแบบนี้ครับ



มาครับ มาหยิบไปกินกันคนละเม็ดสองเม็ด ไม่ต้องเกรงใจป๋มครับ กินรอ ทองขึ้น ฮ่าฮ่าฮ่า



มะยม * Star gooseberry

ผล ไม้ อย่างมะยมที่มี รสชาติที่เปรี้ยว อร่อย ที่เรานำมารับประทาน ที่ให้ประโยชน์ต่อเรา ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเราจะได้รับวิตามิน ซีที่มีอยู่ในมะยม ที่เรารับประทาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeels
ชื่อสามัญ : Star Gooseberry
วงศ์ : Euphorbiaceae

ลักษณะ: เป็นไม้ต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง ซึ่งมีความ สูงประมาณ 3 – 10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้าน สาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้าน จะเปราะ และแตกง่ายมากเลย เปลือกต้นขรุขระ สีเทาปนน้ำตาล

ใบมะยม เป็นใบรวม มีใบย่อย ออกเรียง แบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้าน จะมีใบย่อย อยู่ประมาณ 20 – 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลม หรือค่อนข้าง เป็นสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ

ดอกของมะยม ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลือง อมน้ำตาลเรื่อๆ

ผลมะยม เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อผลเริ่ม แก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ด รูปร่างกลม แข็ง มีสีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ : ใบตัวผู้ ผลตัวเมีย รากตัวผู้

สรรพคุณ :
ใบตัวผู้ - สามารถนำมาใช้ ในการแก้พิษคัน แก้พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง ปรุงในยาเขียว และ ใช้เป็นอาหารได้ อีกด้วย

ผลตัวเมีย – สามารถนำมา ใช้เป็นอาหาร เพื่อรับประทาน

รากตัวผู้ - นำมาใช้ ในการแก้ไข้ แก้โรคผิวหนัง แก้ประดง แก้เม็ดผื่นคัน ช่วยในการ ขับน้ำเหลือง ให้แห้ง เร็วมากขึ้นกว่าเดิม

วิธีและปริมาณที่ใช้ : ใช้ใบตัวผู้ หรือ รากตัวผู้ นำมาใช้ ต้มน้ำดื่ม

มะยมนอกจาก ว่าเราจะนำมารับประทาน ผลแล้วเรายังสามารถ นำเอาส่วนต่างๆ ขอต้นมะยมนำมาใช้ในการ รักษาโรค ได้หลายอย่างเลย เห็นไหมล่ะว่า มะยมมีประโยชน์ มากเลยล่ะ หากว่าเรา มีอาการที่เกิดขึ้นมา เราก็สามารถนำเอามะยม มาใช้ในการดูแลรักษา ร่างกายของเราได้ นอกเหนือจาก ที่เรานำมารับประทาน เพียงเท่านั้นเอง

ขอบคุณบทความจาก : rspg.or.th

https://www.facebook.com/pichappy

    แหล่ง เรียนรู้ในโรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัยที่ข้าพเจ้าสนใจอยากที่จะศึกษาคือ ต้นมะยม ซึ่งอยู่ในบริเวณด้านข้างเสาธงหรืออยู่บริเวณลานหน้าอนุสาวรีย์สมเด็จพระสุ ริโยทัย ซึ่งมีอยู่จำนวนหนึ่งต้นในโรงเรียนซึ่งต้นมะยมต้นนี้ก็มีขนาดไม่ใหญ่มาก ที่ข้าพเจ้าสนใจเลือกที่จะศึกษาต้นมะยมนี้เพราะว่าข้าพเจ้ามีความชอบส่วนตัว อยู่แล้ว คือชอบรับประทานผลมะยมกับพริกเกลือ และชื่อของต้นมะยมมีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม ต้นมะยมก็มีความเชื่อทางด้านไสยศาสตร์ โชคลาภ ซึ่งคนไทยในสมัยก่อนจะเชื่อกันว่าเมื่อเราปลูกต้นมะยมป้องกันและขจัดสิ่ง ชั่วร้ายได้จึงนำมาใช้ในพิธีปัดรังควาน                                               

     
 
ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์
EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ
Star Gooseberry
ชื่อท้องถิ่น
•ทั่วไป เรียก มะยม
•ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
•ภาคใต้ เรียก ยม
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ  :  ยอด รสฝาด รสมัน กลิ่นหอม สรรพคุณ ดับพิษไข้ แก้ไข้
ลักษณะทั่วไปของมะยม : มะยมคือพืชพันธุ์ดั้งเดิมถิ่นแหลมทองลำต้นสูงประมาณ ๔ ถึง ๗ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นปุ่มปมอันเกิดจากแผลเป็นของก้านใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว ใบเรียงสลับกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นประเภทขนนก คือมีใบย่อยเรียงอยู่ ๒ ด้านของก้านใบรวมขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่เบี้ยว ปลายใบแหลม ก้นใบค่อนข้างกลม ด้านบนใบสีเขียวอ่อน ด้านล่างสีขาวนวลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านที่ไม่มีใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้มีมากกว่าดอกตัวเมีย บางครั้งมีเฉพาะดอกตัวผู้ทั้งต้น จึงไม่ติดผลเลย เรียกกันว่า มะยมตัวผู้
 
 
 
http://www.weekendhobby.com/board/photo/picture%5C152254901545.JPG
 
 
 
 
http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/853/5853/images/mayom1.jpg



http://www.niyommit.org/botanic/plant/028mayom/flower.jpg

กลีบดอกขนาดเล็กสีชมพู เมื่อติดผลมักอยู่รวมเป็นพวง ผลค่อนข้างกลม ก้นแบน จุกด้านบนบริเวณก้านผลบุ๋มลงไป ด้านข้างผลมีลักษณะเป็นพูมนๆ ๖ ถึง ๘ พู ผิวของผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนบาง มีน้ำในผลมากเช่นเดียวกับตะลิงปลิงและมะเฟือง ผลสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่มและไม่ฉ่ำน้ำมากเหมือนตอนดิบ เมล็ดในผลมีลักษณะเป็นพูๆ เช่นเดียวกับผล มีสีน้ำตาล ผลละหนึ่งเมล็ด หากสังเกตชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม จะพบว่าชื่อชนิดคือ acidus หมายถึง กรด คงมาจากลักษณะผลฉ่ำน้ำของมะยมนั่นเอง เพราะมะยมดิบมีน้ำมาก น้ำมะยมนั้นมีกรดอยู่มากจึงมีรสเปรี้ยวจัด เป็นลักษณะเด่นของมะยม ปกติมะยมจะมีรสเปรี้ยว แต่มะยมบางต้นผลจะมีรสจืด เพราะมีกรดน้อย เรียกกันว่ามะยมหวาน ความจริงไม่มีรสหวานเลย น่าจะเรียกว่ามะยมจืดมากกว่า เชื่อว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะยมอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่คนไทยเคยเรียกว่าถิ่นแหลมทองนี้เอง จึงนับว่ามะยมเป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่เดิม คนไทยจึงมีความผูกพันกับมะยมมาเนิ่นนานและลึกซึ้งในหลายๆด้าน

Monday, October 1, 2012

ต้นมะยมหน้าบ้าน
แม่ผมเป้นคนถ่ายเองครับ

่ท่านเข้าไปในห้องชั้นสอง
สูงพอดีกับต้นมะยมหน้าบ้าน
ก็หยิบกล้องมาถ่าย ดกมากๆ



หยิบกล้องมาก็ถ่ายเลยครับ แม่ผมบอก


รออีกสักวันสองวันก็เก็บมาให้เด็กๆที่หอพักทานกัน


ถ่ายจากระเบียงห้องผมหน้าบ้านครับ




++++++++++++++++++++++++++++++++
มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus Skeels

ชื่อวงศ์ EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ Star Gooseberry

ชื่อท้องถิ่น

* ทั่วไป เรียก มะยม
* ภาคอีสาน เรียก หมักยม, หมากยม
* ภาคใต้ เรียก ยม

ลักษณะ ทั่วไป มะยมเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูงประมาณ 3–10 เมตร ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย เปลือกต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับกันเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20–30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลมหรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนปลายใบแหลม ฐานใบกลมหรือมน ขอบใบเรียบ ดอก ออกเป็นช่อตามกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองอมน้ำตาลเรื่อๆ ผล เมื่ออ่อนสีเขียว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือขาวแกมเหลือง เนื้อฉ่ำน้ำ เมล็ดรูปร่างกลม แข็ง สีน้ำตาลอ่อน 1 เมล็ด

การปลูก มะยมเป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในที่ร่มรำไร ปลูกขึ้นได้ดีในดินที่ร่วนซุย มีความชื้นพอเหมาะ ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

สรรพคุณทางยา

* ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
* เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
* ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
* ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
* ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง

คติ ความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง กล่าวว่ามะยมเป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมี นะเมตตามหานิยม
มะยม....เป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม  นั่นคือ...คติความเชื่อ..ที่ต่างคนต่างมุมมอง

:)พอดีที่บ้าน..มะยมกำลังดก...ก็เลยเก็บความรู้เรื่อง  มะยม  มาฝากค่ะ :)

ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)

ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.

วงศ์EUPHORBIACEAE


มะยม เป็นพันธุ์ไม้ที่คนไทยมักปลูกไว้ตามบ้าน ริมน้ำ และตามสวนทั่วไปในทุกภาค มะยมตามตำราหรพมชาติ ถือเป็นไม้มงคล จึงนิยมปลูกในทิศตะวันตกคนโบราณมีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมไว้ในบ้าน เพื่อให้ผู้คนนิยมชมชื่น เพราะมีนะเมตตามหานิยม
มะยมเป็นไม้ผลดก ผลมะยมมีรสเปรี้ยงอมหวาน สามารถรับประทานสด และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือขนมได้ มะยมเป็นไม้สูง ขนาดกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในร่ม ปลูกในดินร่วนซุย ความชื้นเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์ทางยา
แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากมะยมตัวผู้ (มะยมตัวผู้สังเกตได้จากต้นที่ออกดอกเต็มต้น และร่วงหล่นโดยไม่ติดลูก) ในการปรุงยา ซึ่งจะมีคุณภาพที่ดีกว่าตัวเมีย
ราก สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ดับพิษเสมหะ ประดงโลหิต
เปลือกต้น  รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ
       รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาทต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส
ดอก
     ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา
ผล
        รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง

ประโยชน์ทางอาหาร
คนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน รู้จักการนำมะยมมาเป็นผักโดยใช้ยอดใบอ่อนเป็นผักจิ้ม กับน้ำพริก ส้มตำ หรือนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ ยอดอ่อนนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่ว บางภาคก็นำมารับประทาน ร่วมกับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ ก็ย่อมได้ นอกจากนี้ ผลแก่ยังนำมารับประทานสด จิ้มน้ำปลาหวาน พริกเกลือ หรือปรุงเป็นแยม มะยมกวน มะยมดอง เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสฝาด มัน หวาน เปรี้ยว กลิ่นหอม มีประโยชน์สรรพคุณดับพิษไข้ แก้ไข้ เป็นต้น


 ขอบคุณและอ่านเพิ่มเติม
มะยมเชื่อม

ผลไม้แปรรูป อีกอย่างของพวกเรา กินตั้งแต่เสียบไม้ละ บาท ยาวเชียว เดียวนี้เหลือไม้ละ 3-4 ลูก 4 ไม้หนึ่งบาท

เวลามะยมออกมาทีเยอะจนกินกันไม่ทัน เราก็หาวิธีเก็บไว้กินนาน ๆ แบบนี้น่านับถือภูมิปัญญาไทยนะคะ

พอดีพี่ที่ทำงานเค้าเอามะยมมาให้เยอะมาก ไม่รู้จะทำอะไรให้กินหมดไม่เน่าเสียก่อน คิดไปคิดมา ลองเอามาเชื่อมดีกว่า

เราทำในที่ทำงาน ด้วยหม้อหุงข้าวใบเก่ง จึงไม่มีขั้นตอนตามสูตร ครบนะคะ
เอา กันแบบง่าย ๆ แต่ทำออกมาแล้วก็อร่อยดีคะ มะยมจะอมเปรี้ยวหวาน แบบที่เราชอบ ซะด้วย ติดใจวิธีนี้ ลองทำไป 3 รอบแล้ว ทีนีมีมะยมมาเมื่อไหร่ ไม่กลัวเสียแล้วคะ

ตามสูตรเค้าต้องเอามะยมไปคลึงแล้วแช่น้ำปูนให้ก่อน แต่เราไม่...คะ
เชื่อม ทั้งสด ๆ งั้นเลย ไม่ได้แช่น้ำปูนด้วย เคล็ดลับอยู่ที่เวลาเชื่อม ห้าม เอาทัพพีไปคนนะคะ เพราะเนื้อมะยมจะเละ เราคนครั้งเดียวตอนใกล้จะเสร็จเพื่อดูปริมาณน้ำเชื่อม ว่าเหลือพอหรือยัง

>



ส่วนผสม

มะยมผลโต 1/2 กิโลกรัม
น้ำตาลทรายขาว 500กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนชา
นํ้าปูนใส 5 ถ้วยตวง
น้ำสะอาด 1 ลิตร


วิธีทำ

1. ล้างมะยมให้สะอาด คลึงมะยมในกระด้งให้ผิวช้ำทั่วทุกผล แล้วแช่ในนํ้าปูนใส เติมเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ทิ้งไว้ประมาณ 30นาที

2. แล้วล้างน้ำให้สะอาด นำใส่หม้อ (หม้อหุงข้าว) ใส่น้ำตาลทราย ลงไปเลย ใส่เกลือนิดหน่อย กดไฟ ปิดฝา รอให้เดือด

3. เปิดฝาหม้อ ช้อนฟองออก คนเบาๆให้น้ำเชื่อมเดือดเสมอ แง้มฝาหม้อไว้เชื่อมไปเรื่อย ๆ จนมะยมเป็นเงาสีแดง ไม่ต้องคน เดี๋ยวมะยมจะเละ

4. ได้มะยมเชื่อมขนาดตามต้องการ หรือจนน้ำเกือบแห้ง แต่ไม่ถึงกับแห้ง

5. รอให้เย็น บรรจุใส่กล่องพลาสติก หรือขวดโหลสะอาดปิดฝาให้สนิท
เก็บไว้รับประทานได้นาน เอาเข้าตู้เย็นก็ได้คะ












ขั้น ตอนระหว่างเชื่อมไม่ได้ถ่ายไว้เพราะ พอลงหม้อแล้วตอนเดือดไม่ได้ไปดูคะ ให้เพื่อนช่วยดูแทน เพราะติดงานอยู่ มาดูอีกทีก็เกือบเสร็จแล้ว คะ