มะยม....เป็นต้นไม้ที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) เพื่อป้องกันความถ่อย ถ้อยความ และผีร้ายมิให้มากล้ำกราย ในบางตำราก็ว่า เป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ปลูกแล้วผู้คนจะได้นิยมเหมือนมีนะเมตตา มหานิยม นั่นคือ...คติความเชื่อ..ที่ต่างคนต่างมุมมอง
:)พอดีที่บ้าน..มะยมกำลังดก...ก็เลยเก็บความรู้เรื่อง มะยม มาฝากค่ะ :)
ชื่อพื้นเมืองยม (ใต้) มะยม (ทั่วไป)หมักยม , หมากยม (อุดรธานี, อีสาน)
ชื่อวิทยาศาสตร์Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels.
วงศ์EUPHORBIACEAE
มะยม เป็นพันธุ์ไม้ที่คนไทยมักปลูกไว้ตามบ้าน ริมน้ำ และตามสวนทั่วไปในทุกภาค มะยมตามตำราหรพมชาติ ถือเป็นไม้มงคล จึงนิยมปลูกในทิศตะวันตกคนโบราณมีความเชื่อกันว่า การปลูกต้นมะยมไว้ในบ้าน เพื่อให้ผู้คนนิยมชมชื่น เพราะมีนะเมตตามหานิยม
มะยมเป็นไม้ผลดก ผลมะยมมีรสเปรี้ยงอมหวาน สามารถรับประทานสด และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือขนมได้ มะยมเป็นไม้สูง ขนาดกลาง เป็นพันธุ์ไม้กลางแจ้ง เติบโตได้ดีทั้งที่แดดจัด หรือในร่ม ปลูกในดินร่วนซุย ความชื้นเหมาะสม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากมะยมตัวผู้ (มะยมตัวผู้สังเกตได้จากต้นที่ออกดอกเต็มต้น และร่วงหล่นโดยไม่ติดลูก) ในการปรุงยา ซึ่งจะมีคุณภาพที่ดีกว่าตัวเมีย
ราก สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง ดับพิษเสมหะ ประดงโลหิต
เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ แก้เม็ดผดผื่นคัน
ใบ รสจืด ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาทต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้ผื่นคัน ไข้หัด เหือด สุกใส
ดอก ใช้สด ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระน้ำในตา
ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต ระบายท้อง
คนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคอีสาน รู้จักการนำมะยมมาเป็นผักโดยใช้ยอดใบอ่อนเป็นผักจิ้ม กับน้ำพริก ส้มตำ หรือนำมาชุบแป้งทอด รับประทานร่วมกับขนมจีนน้ำยา นอกจากนี้ ยอดอ่อนนำมาแกงเลียง และผลแก่นำมาแกงคั่ว บางภาคก็นำมารับประทาน ร่วมกับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือนำผลแก่ไปปรุงเป็นส้มตำ ก็ย่อมได้ นอกจากนี้ ผลแก่ยังนำมารับประทานสด จิ้มน้ำปลาหวาน พริกเกลือ หรือปรุงเป็นแยม มะยมกวน มะยมดอง เป็นต้น
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
รสฝาด มัน หวาน เปรี้ยว กลิ่นหอม มีประโยชน์สรรพคุณดับพิษไข้ แก้ไข้ เป็นต้น
ขอบคุณและอ่านเพิ่มเติม
0 comments:
Post a Comment