มะยม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มะยม | |
---|---|
ผล | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ดิวิชั่น: | พืชดอก Magnoliophyta |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ Magnoliopsida |
อันดับ: | Malpighiales |
วงศ์: | Phyllanthaceae |
เผ่า: | Phyllantheae |
เผ่าย่อย: | Flueggeinae |
สกุล: | Phyllanthus |
สปีชีส์: | P. acidus |
ชื่อทวินาม | |
Phyllanthus acidus (L.) Skeels. | |
ชื่อพ้อง | |
Phyllanthus distichus Müll.Arg. Cicca acida Merr. Cicca disticha L. Averrhoa acida L. |
การใช้ประโยชน์
มะยมใช้รับประทานเป็นผลไม้สดและแปรรูป เช่น แช่อิ่ม ดอง น้ำมะยม แยม หรือกวน ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีน ในฟิลิปปินส์ใช้ทำน้ำส้มสายชู หรือกินดิบหรือดองในเกลือและน้ำส้มสายชู ในมาเลเซียนิยมนำไปเชื่อม ในอินเดียและอินโดนีเซียนิยมนำใบมะยมไปประกอบอาหาร[3]ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะและเป็นยาระบาย ใบเป็นส่วนประกอบของยาเขียว[1] ตำราไทยใช้ รากแก้ไข รักษาโรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย ผื่นคัน ใบ ต้มน้ำอาบแก้คัน แก้ไข้ เหือด หิด อีสุกอีใส ในผลมีแทนนิน เดกซ์โทรส เลวูโลส ซูโครส วิตามินซี ในรากมี beta-amyrin, phyllanthol, แทนนิน ซาโปนิน กรดแกลลิก สารสกัดจากมะยมที่สกัดด้วยเอทานอลมีประสิทธิภาพดีทในการยับยั้งการเจริญของ E. coli O157:H7 และ Propionibacterium acnes[4]
รวมภาพ
อ้างอิง
- ^ 1.0 1.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. มะยม ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า 179
- ^ Morton, Julia. "A Fast Growing Vine", The Miami News, 16 June 1963. สืบค้นวันที่ 30 October 2011
- ^ National Geographic (18 November 2008). Edible: an Illustrated Guide to the World's Food Plants. National Geographic Books. p. 110. ISBN 978-1-4262-0372-5. http://books.google.com/books?id=HORIzBx17DYC&pg=PA110. เรียกข้อมูลเมื่อ 30 October 2011.
- ^ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน. การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน
0 comments:
Post a Comment